ง่ายขนาดนี้เลยหรอ ทำ face detection ในพริบตาด้วยการใช้ โค้ดสำเร็จรูป!? เรียนกับ Ultimate Python
เราตั้งใจทำทุกบทเรียนแบบ 300%
ถ้าชอบช่วยกด subscribe เป็นกำลังใจให้เราได้
Please consider subscribing to Ultimate Python
Face Dectection
การตรวจจับใบหน้าเป็นเทคนิคในสาขา computer vision ที่เน้นการพัฒนาโปรแกรมให้สามารถทำความเข้าใจ “ข้อมูล” ที่อยู่ในรูปภาพ โดยอาศัยการตรวจจับ classifier ที่เป็นส่วนย่อยของใบหน้า ที่อาจมีมากถึง 6000++ classifier ที่ใช้ระบุใบหน้าบุคคล
Cascades
การที่คอมพิวเตอร์จะหาใบหน้าบนรูปเจอ มันจะต้องเข้าไปดูในส่วนย่อยของภาพ เข้าไปเช็ค classifier ที่อาจะมีหลายพัน หลายหมื่นตัว เทียบกับข้อมูลใบหน้าที่มันเรียนรู้มา แล้วหากมีองค์ประกอบที่ตรงกับสิ่งที่เรียนรู้มาในระดับที่รับได้จึงแจ้งว่ามีการตรวจจับใบหน้า
วิธีการทำงานนี้ทำให้เกิดงานหนักในการคำนวนได้อย่างมหาศาล จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า cascades ขึ้นมา ซึ่ง cascades หากแปลเป็นภาษาไทยแปลว่าน้ำตกขั้นบันได และเช่นเดียวกัน cascades อาศัยการทำงานที่ดูคล้ายๆ กัน
Cascades จะแบ่งการตรวจจับออกเป็น stages ที่ประกอบไปด้วยส่วนหนึ่งของการตรวจจับ classifier ที่ต้องการใช้ เมื่อตรวจ stages หนึ่งเสร็จก็จะตรวจจับ stages ถัดไป และทำงานเป็นขั้นบันไดอย่างงี้ไปเรื่อยจนมีความมั่นใจในการเจอใบหน้า
หากข้อมูลใดไม่สามารถแสดงให้เห็นลักษณะของใบหน้าได้ใน stages ที่ตรวจเช็ค ข้อมูลนั้นจะถูกข้ามไป และไปคำนวนในภาพส่วนถัดไปทันที ซึ่ง cascades อาจมี 30 -50 stages การทิ้งการคำนวนโดยที่ไม่ต้องตรวจเช็ค Classifier ทั้งหมด ทำให้การคำนวนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และระบบการทำงานแบบนี้เรียกว่า cascades นั่นเอง
Haar Cascades
เป็น Object Detection Algorithm ใช้ในการตรวจจับวัตถุแบบ real-time อ้างอิงจากงานวิจัยของ Paul Viola และ Michael Jones ชื่อ “Rapid Object Detection using a Boosted Cascade of Simple Features” published in 2001
โดยหลักการทำงานของ Haar Cascades จะอ่านข้อมูล pixel ของรูป และนำมาเปรียบเทียบกับ feature ที่มีอยู่บนใบหน้าซึ่ง Haar Cascades สามารถปรับแต่งเพื่อตรวจจับวัตถุได้หลายอย่าง และเก็บข้อมูลในการตรวจ และโปรแกรมที่ถูกปรับแต่งเพื่อค้นหาวัตถุต่างๆ เก็บไว้ในรูปของไฟล์ xml ซึ่งหากเราต้องการตรวจจับใบหน้า เราต้องนำไฟล์ cascades ที่ปรับแต่งสำหรับการจับใบหน้านั่นเอง
Visualization การทำงานของ Haar Cascade
วันนี้เราจะสร้าง Face Detection Model ที่ใช้ตรวจจับใบหน้าภายใน 10 บรรทัดโดยการใช้ Haar Cascades ที่เตรียมไว้แล้ว เพื่อทำแบบนี้
ข้อมูลที่ใช้
เราจะใช้รูปที่มีใบหน้าคนอยู่ และไฟล์ xml ที่เก็บข้อมูล haar cascades ที่ใช้เพื่อระบุใบหน้า
ไฟล์รูป
รูปตัวอย่าง ig-cover-1.png ที่จะใช้เป็นตัวอย่าง
ไฟล์ cascade
สำหรับโปรแกรมที่ใช้ตรวจจับเราจะใช้โปรแกรมที่ทำสำเร็จไว้แล้วชื่อ haarcascade_frontalface_default.xml ที่เตรียมไว้ให้เรียบร้อย
ระบุตำแหน่งของไฟล์ไว้ใช้งานIn [1]: imagePath = r’ig-cover-1.png’ cascPath = “haarcascade_frontalface_default.xml”
library ที่ชื่อ opencv ที่รวบรวมเครื่องมือการทำงานกับภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานและสำคัญที่สุด library หนึ่ง
ติดตั้ง opencv
ในการติดตั้งเราจะใช้ชื่อ opencv-python กับคำสั่ง pip installIn [1]: !pip install opencv-python
นำเข้า opencv
ซึ่งใช้ชื่อว่า cv2 ในการนำเข้าIn [2]: import cv2
การเปิดใช้
เราใช้คำสั่ง cv2.CascadeClassifier() ที่รับ path ไฟล์ของไฟล์ xml ที่เก็บ haar cascades ที่ใช้ระบุใบหน้าIn [3]: faceCascade = cv2.CascadeClassifier(cascPath)
นำเข้าข้อมูล
เราจะนำเข้าข้อมูลผ่านคำสั่ง cv2.imread() ที่รับ path ไฟล์รูปIn [4]: image = cv2.imread(imagePath)
แปลงรูปเป็นขาวดำ
ในกรณีนี้ cascade ของเราทำงานกับไฟล์รูปขาวดำ ซึ่งค่อนข้างปกติในการใช้กับโปรแกรมตรวจจับวัตถุ โดยเราจะใช้คำสั่ง cv2.cvtColor() รับค่า ภาพที่ต้องการเปลี่ยนค่าสี และ ตัวแปลงค่าสี เราจะใช้ cv2.COLOR_BGR2GRAYIn [5]: gray = cv2.cvtColor(image, cv2.COLOR_BGR2GRAY)
ใช้ haar cascade ตรวจจับใบหน้า
โดยใช้คำสั่ง .detectMultiScale() ที่ทำงานร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการเปิด cascade ด้วยคำสั่ง .CascadeClassifier() และรับข้อมูลรูปขาวดำ ซึ่งเราจะได้ตำแหน่งของใบหน้าที่ตรวจเจอมาอยู่ใน array ของ arrayIn [6]: faces = faceCascade.detectMultiScale(gray)
ข้อมูลที่ได้
เราจะได้ตำแหน่งของใบหน้าที่ตรวจเจอโดยการระบุ ตำแหน่ง x, ตำแหน่ง y, ความกว้าง, ความสูงของ “กรอบ” ที่ใช้ระบุตำแหน่งใบหน้า ตามลำดับIn [7]: facesOut[7]: array([[332, 272, 193, 193]], dtype=int32)
Unpacking
เราจะเก็บข้อมูลทีได้มาแยกออกเป็นแต่ละตัวแปรแยกกันเพื่อให้นำไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นIn [8]: x, y, w, h = faces[0]
ตีกรอบใบหน้าที่เจอ
การตีกรอบ
ใช้คำสั่ง cv2.rectangle() ที่รับค่า ภาพที่ต้องการตีกรอบ, tuple จุดเริ่มต้นที่จุดซ้ายบน (x,y), tuple จุดสิ้นสุดที่จุดขวาล่าง หรือ (x+w,y+h), tuple ค่าสี BGR สีเขียวใช้ (0,255,0), และความหนาของกรอบที่ต้องการ
เมื่อรันคำสั่งภาพดังกล่าวจะถูกตีเส้นลงไป สามารถดูผลลัพธ์ได้จากคำสั่งการแสดงผลถัดไปในบทความIn [9]: cv2.rectangle(image, (x, y), (x+w, y+h), (0, 255, 0), 2)Out[9]: array([[[228, 240, 243], [230, 242, 244], [230, 242, 244], … [127, 186, 192], [126, 184, 192], [126, 182, 192]]], dtype=uint8)
การแสดงผลลัพธ์
ใช้คำสั่ง cv2.imshow() ที่รับค่า string ที่ใช้ตั้งชื่อหน้าต่างที่ใช้แสดงผลรูป และรับค่ารูปภาพที่ต้องการแสดง (รูปภาพที่ผ่านการตีกรอบ) ซึ่งการใช้งาน cv2.imshow()
โดยจะต้องใช้คำสั่ง cv2.waitKey(0) ตามเข้าไปเพื่อป้องกันโปรแกรม crash ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้หยุดการแสดงผลเมื่อมีการกดคีย์บอร์ดเมื่อเลือก pop-up หรือการกดปิด pop-up In [10]: cv2.imshow(“Faces found”, image) cv2.waitKey(0)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการปิด pop-up
ถ้ากดปิดที่ x ด้านขวาบน จะได้ return value -1 หรือถ้ากดคีย์บอร์ดอื่นๆ ตอนเลือก pop-up อยู่จะได้ค่าตามคีย์ต่างๆOut[10]: -1
การค้นหาหลายใบหน้า
ชุดคำสั่ง cv2.CascadeClassifier() จะค้นหาใบหน้าทุกคนในรูป โดยจะให้ข้อมูลของตำแหน่งใบหน้าแต่ละใบมา ในการแสดงผล เราจะต้องนำตำแหน่งของทุกใบหน้ามาตีกรอบ โดยการใช้ for loop
ไฟล์รูป
faces.png ที่จะใช้เป็นตัวอย่างในการค้นหาใบหน้าหลายคน
In [11]: imagePath = r’faces.jpg’ cascPath = “haarcascade_frontalface_default.xml” image = cv2.imread(imagePath) gray = cv2.cvtColor(image, cv2.COLOR_BGR2GRAY) faceCascade = cv2.CascadeClassifier(cascPath) faces = faceCascade.detectMultiScale(gray) print(f’There are {len(faces)} faces found.’) for (x, y, w, h) in faces: cv2.rectangle(image, (x, y), (x+w, y+h), (0, 255, 0), 2) cv2.imshow(“Faces found”, image) cv2.waitKey(0)
การแสดงผลจากคำสั่ง printThere are 22 faces found.
ผลลัพธ์ที่ได้จากการปิด pop-up
ถ้ากดปิดที่ x ด้านขวาบน จะได้ return value -1 หรือถ้ากดคีย์บอร์ดอื่นๆ ตอนเลือก pop-up อยู่จะได้ค่าตามคีย์ต่างๆOut[11]: -1
แสดงผลการตรวจจับใบหน้าโดยการตีกรอบใบหน้าที่เจอ ด้วยตำแหน่งที่ได้จากการตรวจจับด้วย Haar Cascades
ถ้าชอบบทเรียนนี้ การกด subscribe และชวนเพื่อนมาเรียน จะช่วยเราได้มากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงเลย 🙂
ข้อมูลจากเว็บ: https://www.ultimatepython.co/post/face-detection-opencv-python